ภาษาไทย Dansk                                                                                                            คณะกรรมการ Link

Forside
Bibliotek
Billeder
Indmelding
Indvielsen af rytterstaueOm foreningen
TempelVedtægter
Valutakurs
Thai Festival

Click for Bangkok, Thailand Forecast

 

 

 

 

 



นายพชร ยุติธรรมดำรง

อัยการสูงสุด

แนวนโยบายบริหารราชการด้านการคุ้มครองสิทธิ

และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยในต่างประเทศ

 

                      ในด้านการคุ้มครองสิทธิของคนไทยในต่างประเทศจะให้ความร่วมมือทั้งด้านการร่วมปฏิบัติหน้าที่และให้คำปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยหรือแรงงานไทยได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเป็นธรรม“

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ

ประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.)

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.)

สักนักงานอัยการสูงสุด

1. การจัดตั้ง สฝคป.

                      cเดิมทีสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 251/2548 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2548 จัดตั้งศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (ศอสป.)ในสังกัดสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน(สคช.)ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2548 ให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                      (1) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการของสำนักงานอัยการสูงสุดในการคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ

                      (2) รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายรวมทั้งการเปยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายแก่คนไทยในต่างประเทศ และชาวต่างประเทศในประเทศไทย

                      (3) รับผิดชอบการตอบปัญหาทางกฎหมาย และเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายใน Web site

                      (4) รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

                      (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นเกียวข้องกับการคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ

                      (6) ปฏิบัติงานอื่นตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมาย

                      ต่อมาได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วยราชการสำนักงานอัยการสูงสุด(ฉบับที่2)พ.ศ. 2549 ข้อ 5 (24) (ง) จัดตั้งสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.) ขึ้นในสังกัด สคช. โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ด้งนี้

                      (1) รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

                      (2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

และให้มีการโอนงานทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ศอสป. ไปยัง สฝคป. ตามคำสั่ง อส. ที่521/2549

 

2. เหตุผลและความจำเป็น

                      [สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนตามกฎทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2546 ข้อ 3 (24)

                      [ปัจจุบันมีคนไทยเป็นจำนวนมากไปอยู่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไปประกอบอาชีพ เช่น ขายแรงงาน เป็นกรรมกรก่อสร้าง เป็นลูกจ้างในกิจการต่างๆ เป็นแม้บ้าน ทำงานบ้าน บ้างก็ไปเปิดกิจการร้านค้าหรือประกอบธุรกิจ บ้างก็ทำการสมรสหรืออยู่กินฉันสามีภริยากับชาวต่างประเทศ

                      [คนไทยจำนวนมากไม่น้อยประสบปัญหาให้ด้านกฎหมาย เช่นปัญหาเรื่องการทำนิติกรรมสัญญากับผู้จัดหางานที่มักถูกเอารัดเอาเปรียบขณะเดินทางไปกับนายจ้างในต่างประเทศ ปัญหาเรื่องมรดก และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวมทั้งปัญหาการถูกดำเนินคดีในต่างประเทศ เป็นต้น

                      [คนต่างประเทศในประเทศไทยที่มาท่องเที่ยว มาประกอบอาชีพหรือพำนักอาศัยในประเทศไทยแต่งงานกับหญิงไทย มีครอบครัวอยู่ในประเทศ บางครั้งก็ประสบปัญหาทางกฎหมายต่าง ๆ หรือต้องการพึ่งพาบริการทางกฎหมายจากรัฐแต่ไม่ทราบจะไปติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่ไหน

                      [ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธกรณีตามอนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศทางด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่ต้องดูแลสิทธิและประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ทั้งในและต่างประเทศให้เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าว

                      [สำนักงานอัยการสูงสุดตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงมีคำสั่งให้ตั้งสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยและคนต่างชาติด้งกล่าว

 

3. อำนาจหน้าที่ของ สฝคป.

[จัดบริการให้ความรู้ทางกฎหมาย ตอบปัญหาและให้ข้อแนะนำด้านกฎหมายในลักษณะคลินิกกฎหมายสัญจร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

                      [ตอบปัญหากฎหมายทางอินเตอร์เน็ตแก่คนไทยในต่างประแดนและชาวต่างประเทศในประเทศไทย

                      [เป็นคลินิกกฎหมายในประเทศที่ชาวต่างประเทศสามารถเดินเข้ามาขอรับคำปรึกษาทางกฎหมายได้

                      [ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยที่ต้องคดีในต่างประแดนโดยร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                      [คุ้มครองสิทธิประชาชรชาวไทยที้งในและต่างประเทศ และชาวต่างประเทศในประเทศไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

 

4. ช่องทางและวิธีการในการขอรับบริการ

                      [ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail)มาถามปัญหาได้ที่ humanrights@ago.go.th

                      [คริก8 เข้าไปหาข้อมูล website : www.humanrights.ago.go.th

                      [เขียนจดหมายและส่งไปรษณีย์เข้ามาถามและปรึกษาปัญหากฎหมายตามที่อยู่ข้างล่าง

                      [เดินทางมาพบพนักงานอัยการที่สำนักงานด้วยตนเองเพื่อขอรับคำปรึกษา

                      [โทรศัพท์มาปรึกษาปัญหาทางกฎหมายได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2515-4016 และ 0-2515-4792  ถ้าโทรฯ จากต่างประเทศกด 662 ก่อน

                      [ติดต่อทางโทรสารได้ที่หมายเลข 0-2151-4792

 

5. ที่อยู่หรือสถานที่ตั้งของ สฝคป.

                      [สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ(สฝคป.) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคป.) ชั้น 2 สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารถนนรัชดาภิเษก ภนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพลเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

คำถาม คำตอบ ปัญหากฎหมายที่ควรรู้สำหรับ

คนไทยในต่างแดน

 

หมวดครอบครัว

 

                      1. หญิงไทยแต่งงานจดทะเบียนที่ประเทศไทยเมื่อมาอยู่ที่ฮ่องกง สามีที่อยู่เมืองไทยมีภรรยาใหม่และแยกกันอยู่กับสามี (7-8 ปีแล้ว) แต่เมื่อขออย่าสามีไม่ยอมหย่าและยังเรียกร้องเงิน 200,000 บาท เมื่อเสนอให้ 100,000 บาทสามีไม่ยอม จะทำอย่างไร ฟ้องหย่าที่ประเทศไทยได้หรือไม่

                      ตอบ การแยกกันอยู่หรือทิ้งร้างเป็นเหตุหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สามารถฟ้องหย่าที่ประเทศไทย หากยากจนไม่มีค่าทนายสามารถขอความช่วยเหลือจายทนายความอาสาของ สคช. สำนักงานอัยการสูงสุดตามภูมีลำเนาที่สามีมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้า

                      2. หญิงไทยซึ่งสมรสกับชายไทยไปครอดบุตรในฮ่องกง บุตรไม่มีบัตรประชาชน จะทำอย่างไร

                      ตอบ ให้นำหลักฐานการเกิดไทยแจ้งเกิดในประเทศไทย เพื่อนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน จะได้ขอออกบัตรประชาชนได้ต่อไป

                      3. หญิงไทยได้สามีไทยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกันจะทำอย่างไร จะให้บิดารับรองบุตรได้

                      ตอบ หากกลับไปเมืองไทยให้บิดาไปขอจดทะเบียนรับรองบุตรที่อำเภอ หากอำเภอไม่จดให้โดยอ้างว่าเด็กยังเป็นผู้เยาว์ ให้อำเภอปฏิเสธเป็นหนังสือ เพื่อจะได้มีเหตุผลข้อโต้แย้งที่จะไปยื่นต่อศาลขอให้สั่งรับรองว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายต่อไป

                      4. สามีคนไทยไม่ยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู จะทำอย่างไร

                      ตอบ สามารถว่าจ้างทนายความฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามกฎหมาย 

                      5. แต่งงานแล้วที่เมืองไทย แต่เมื่อมาฮ่องกงได้สามีใหม่เป็นชาวฮ่องกงทรัพย์สินที่มีมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับสามีคนไทยจะแบ่งกันอย่างไร

                      ตอบ ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินเดิมของซึ่งได้มาก่อนสมรสให้เป็นของหญิงไม่ต้องนำมาแบ่งระหว่างกัน ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสให้เป็นของชายและหญิงเป็นส่วนที่ต้องนำมาแบ่งเมื่อหย่ากัน

                      6. หญิงไทยอยู่กับสามีคนไทยในฮ่องกงโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 8 ขวบต่อมาสามีซึ่งอยู่ฮ่องกงมีภรรยาใหม่ แต่ได้ทำหนังสือจะส่งเงินช่วยเหลือบุตร เดือนละ 500 เหรียญฮ่องกง แต่ก็ไม่ได้ส่งเงินช่วยเหลือ ทำอย่างไรจำจำทำให้สามีส่งเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตร

                      ตอบ ให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศช่วยเรียกมาไกล่เกลี่ย ขอให้สามีช่วยเหลือจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา หากไม่ปฏิบัติตามสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลได้ 

                      7. ปัญหาเรื่องสามีที่เป็นคนมาเก๊าซึ่งอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับหญิงไทยโดยจดทะเบียนสามรสถูกต้องตามกฎหมายของเมืองมาเก๊า ต่อมาสามีแอบเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภรรยา จึงต้องการหย่าและขอค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยามีบ้านหนึ่งหลัง โดยภรรยาคนไทยไม่ได้ประกอบอาชีพ ส่วนสามีรับราชการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวดคนเข้าเมืองมาเก๊า เคยเรียกร้องกับสามีว่าต้องการบ้านที่ใช้อยู่ร่วมกันเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาผู้เดียวและขอค่าเลี้ยงดู สามีเคยตกลงยินยอมแบะได้ย้ายตนเองออกไปจากบ้านไปอยู่กัยภรรยาใหม่ แล้วต่อรองว่าเงินค่าเลี้ยงดูไม่สามารถจ่ายให้ภรรยาได้เท่าที่ต้องการเพราะตนเองมีค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่ใหม่และค่าเลี้ยงดูภรรยาและบุตรที่เกิดกับภรรยาใหม่ จึงปรึกษาว่าจะมีวิธีการเรียกร้องได้อย่างไร

                      ตอบ ฟ้องร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายฮ่องกง หรืออาจหาคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยประณีประนอมเรื่องค่าเลี้ยงดู

                      8. มีผู้ขอรับคำปรึกษาว่าตนได้จะทะเบียนสมรสกับสามีที่ประเทศไทยและต่อมาตนได้เดินทางมาทำงานที่ฮ่องกงด้วยความสมัครใจ และด้วยความยินยอมของสามี ต่อมาเมื่อตนเองเดินทางกลับมาประเทศไทย พบว่าสามีได้ออกจากบ้านพักเดิมได้อาศัยอยู่ร่วมกับตน โดยชาวบ้านที่อยู่บริเวณดังกล่าวแจ้งว่าสามีได้ภริยาใหม่และได้ย้ายออกจากบ้านพักไปอยู่กับภริยาใหม่ที่อื่น ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นที่ใดแต่สามีไม่ได้ย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านโดยยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่อยู่ร่วมกับตนอยู่เช่นเดิม ขณะนี้ตนต้องการที่จะจะทะเบียนหย่ากับสามีแต่ตามหาสามีไม่พบ ตนจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะจดทะเบียนหย่าขาดจากสามีได้

                      ตอบ เหตุที่จะสามารถฟ้องหย่ากันนั้นมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5161 ซึ่งบัญญัติว่า เหตุฟ้องหย่าดังต่อไปนี้

                      (1) สามีอุปการีเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

                      (2) มามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

                       (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้างแรง

                       (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

                       (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิดควร เมื่อเอาสภาะ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้อยหย่าได้

                      (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการึของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้างแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

                      (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

                       (4.1) ภริยาหรือสามีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้จำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ่องหย่าได้

                       (4.2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

                      (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมีลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้

                      (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนานที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกิดควรในเมื่อเอาสถาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

                      (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนานที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

                      (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

                      (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

                      (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

                      การที่สามีของผู้มาของผู้มาขอคำปรึกษามีภริยาใหม่และได้ย้ายออกจากบ้านที่เคยอาศัยร่วมกับผู้มาขอคำปรึกษาไปอยู่ที่อื่นนั้น หากว่าผู้ขอคำปรึกษามีพยานยืนยันได้ว่าสามีของผู้ของร้องขอมีภรึยาใหม่และได้ย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับภริยาใหม่จริงข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีที่สามีของผู้ขอคำปรึกษาได้อุปการะเลี้ยงดูหรือยอย่องหญิงอื่นฉันภริยา ซึ่งเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) ผู้มาขอคำปรึกษาจึงสามารถฟ้องหย่าสามีของตนได้

                      การฟ้องหย่า นั้น ต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่สามีมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า “เว้นแต่ว่าจะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่น“

                       (1) คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

                       (2) คำร้องขอให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ่นในเขตศาลหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

                      แม้ว่าสามีจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่อยู่เดิมร่วมกับผู้มาขอคำปรึกษาก็ตาม แต่ก็ไม่อาจถือว่าบ้านเดิมที่ตนอยู่ร่วมกับสามีเป็นภูมิลำเนาของสามีของผู้มาขอคำปรึกษาได้ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 นั้น บัญญัติว่า “ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได่แก่ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ“ แต่สามีของผู้มาขอคำปรึกษาไม่ได้อยู่บ้านเดิมที่อยู่ร่วมกันกับผู้มาขอคำปรึกษาที่สามีของผู้มาขอคำปรึกษามีชื่อในทะเบียนบ้าน และผู้มาขอคำปรึกษาก็ไม่ทราบที่สามีของผู้มาขอคำปรึกษาไปมีถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญอยู่ที่ใด ด้วย

                      หากขณะยื่นฟ้องไม่ทราบว่าสามีมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ให้ผู้มาขอคำปรึกษาแจ้งให้ทนายความที่ทำคดีฟ้องหย่าให้ทราบข้อมูลนี้ เพื่อที่ทนายจะได้ขอศาลประกาศให้สามีของผู้มาขอคำปรึกษาทราบโดยการประกาศทางหนังสือพิมพ์

                      ซึ่งในการที่จะดำเนินคดีนั้น หากผู้มาขอคำปรึกษามีเอกสารหลักฐานหรือพยานบุคคลอย่างใด ก็ให้เตรียมเอกสารหลักฐานและพยานบุคคลดังกล่าวไว้ เพื่อที่จะใช้ในการนำเนิดการคดีในศาลต่อไปหรือหากผู้มาขอคำปรึกษามีข้อมูลอื่นอีกหลังจากมาขอคำปรึกษา เมื่อกลับไปประเทศไทย ก็สามารถขอรับคำปรึกษากฎหมายได้ที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการจังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

                      9. มีผู้ขอรับคำปรึกษาว่าตนได้จดทะเบียนสมรสกับสามีที่ประเทศไทยและต่อมาตนได้เดินทางมาทำงานทที่ฮ่องกงด้วยความสมัครใจ และด้วยความยินยอมของสามี ต่อมาตนได้ทราบข่าวจากญาติที่อยู่ที่ประเทศไทยว่าสามีได้ออกจากบ้านพักเดิมที่ได้อาศัยอยู่ร่วมกันกับตนโดยได้รับแจ้งว่าสามีได้ภริยาใหม่และได้ย้ายออกจากบ้านพักไปอยู่กับภริยาใหม่ที่อื่น และทราบว่าปัจจุบันสามีไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษแต่ไม่ทราบที่อยู่ที่แน่นอนว่าเป็นที่ใด ขณะนี้ตนต้องการที่จะจะทะเบียนหย่ากับสามี แต่ตามหาสามีไม่พบ ตนจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะจดทะเบียนหย่าขาดจากสามีได้

                      ตอบ คำตอบของปัญหาข้อนี้ เช่นเดียวกับที่ได้ให้ต่อผู้ขอมาคำปรึกษาในลำดับข้อที่ 1 เนื่องจากปัญหาคล้ายคลึงกันและได้ให้คำปรึกษาว่าไม่ว่าสามีจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม ผู้มาขอคำปรึกษาก็สามารถฟ้องหย่าได้ โดยหากทราบที่อยู่ของสามีที่ต่างประเทศก็จะต้องมีการทำตามระเบียบของศาลเกี่ยวกับการส่งหมายไปยังประเทศดังกล่าว 

                      10. ผู้ขอรับคำปรึกษาว่าตนมีสามีเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่มีได้จดทะเบียนสมรสกับสามี แต่อย่างใด โดยตนมีบุตรกับสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสดังกล่าวและสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังกล่าวได้จดทะเบียนรับรองบุตรที่เกิดจากตนดังกล่าวเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามี สามีของตนรับราชการที่ประเทศไทยและมีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันด้วย และตนประสงค์จะให้จะให้ภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีจดทะเบียนรับบุตรของตนที่สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังกล่าวเป็นบุตรบุญธรรมของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีด้วย ทั้งนี้เพื่อให้บุตรของตนจะมีสิทธิที่จะเบิกเงินค่าเล่าเรียนจากทางราชการของประเทศไทยได้ ตนจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะให้ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีจดทะเบียนรับบุตรของตนเป็นบุตรบุญธรรมของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีของตน

                      ตอบ เนื่องจากจุดประสงค์ที่ผู้มาขอรับคำปรึกษามาปรึกษานั้น คือ การให้บุตรของตนมีสิทธิที่จะเบิกเงินตค่าเล่าเรียนจากทางราชการของประเทศไทย จึงแจ้งให้ทราบว่าการที่สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของผู้มาขอคำปรึกษาซึ่งรับราชการอยู่ ได้จดทะเบียนรับรองว่าบุตรที่เกิดจากผู้มาขอคำปรึกษาเป็นบุตรของสามีของผู้มาขอคำปรึกษาแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 บัญญัติว่า “เด็กจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรขอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร“ ดังนั้น บุตรที่สามีได้จะทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรแล้วจึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บิดาของบุตรของผู้มาขอรับคำปรึกษาก็สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรจากทางราชการได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ภริยาของสามีของผู้มาขอรับคำปรึกษาด้งกล่าวจดทะเบียนรับบุตรของผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด

                      11. มีผู้ขอรับคำปรึกษาว่าตนได้จดทะเบียนสมรสกับสามีที่ประเทศไทย และต่อมาตนได้เดินทางมาทำงานที่ฮ่องกงด้วยความสมัครใจ และด้วยความยินยอมของสามี ต่อมาตนได้ทราบข่าวจากญาติที่อยู่ที่ประเทศไทยว่าสามีได้ออกจากบ้านพักที่เดิมได้อาศัยอยู่ร่วมกันกับตนโดยรับแจ้งว่าสามีได้ภริยาใหม่และได้ย้ายออกจากบ้านพักไปอยู่กับภริยาใหม่ที่อื่น และทราบว่าปัจจุบันสามีไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ แต่ไม่ทราบที่อยู่ที่แน่นอนว่าเป็นที่ใด ขณะนี้ตนต้องการที่จะจดทะเบียนหย่ากับสามี แต่ตามหาสามีไม่พบ นอกจากนั้นตนยังประสงค์ที่จะจดทะเบียนสมรสกับคนฮ่องกงทันที่ที่สามารถหย่าขาดจากสามีได้ และตนจะต้องทำอย่างไรจึงจะจดทะเบียนหย่าขาดจากสามีได้ และตนจะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถสมรสกับชายชาวฮ่องกงได้ทันทีที่จดทะเบียนหย่าจากสามีชาวไทยได้

                      ตอบ ได้ให้คำปรึกษาในเรื่องของการฟ้องหย่าขาดจากสามีชาวไทยเช่นเดียวกับที่ได้ให้ต่อผู้มาขอคำปรึกษาในลำบัดที่ 1 เนื่องจากปัญหาคร้ายคลึงกันแต่ในส่วนที่ผู้มาขอคำปรึกษาขอรับคำปรึกษาที่ต้องการจดทะเบียนสมรสกับชายชาวฮ่องกงทันทีเมื่อหย่าขาดจากสามีชายไทยได้นั้น ตามกฎหมยแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453 ซึ่งบัญญัติว่า “หญิงที่สามีตายหรือที่หารสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่

                      1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

                      2) สมรสกับคู่สมรสเดิม

                      3) มีใบรับรองแพท์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ

                      4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

                       ดังนั้น หากผู้ขอรับคำปรึกษาต้องการที่จะทำการสมรสกับชายชาวฮ่องกงทันทีที่หย่าขาดจากสามีชาวไทยได้ วิธีการที่จะรวดเร็วที่สุดก็คือผู้ขอรับคำปรึกษาจะต้องขอใบรับรองจากแพท์ในสาขาเวชกรรมว่าตนมิได้มีครรภ์

                                            แต่เมื่อผู้ขอรับคำปรึกษาจะทำการสมรสกับชายชาวฮ่องกง กรณีต้องพิจารณาจากกฎหมายของฮ่องกงด้วยว่าได้บัญญัติเงื่อนไขในกรณีดังกล่าวไว้ว่าอย่างไรและก็ต้องทำตามเงื่อนไงที่กฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่ายกำหนดไว้ซึ่งเป็นไปตามพระชายบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 19 ที่บัญญัติว่า “เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย“

                      12. ดิฉันมีปัญหากับสามีชาวต่างชาติ เนื่องจากสามีสร้างความลำบากให้อย่างมากอยากจะแยกกันอยู่ รบกวนขอคำแนะนำเรื่องสิทธิ กรณีที่จะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย

                      ตอบ เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยมีเหตุดังต่อไปนี้

                      1. สามีหรือภริยาประพฤติชี่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

                       ก. ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

                       ข. ได้รับความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

                       ค. ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

                      2. สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่งอย่างร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้

                      3. สามีหรือภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้

                      4. สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนานอีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้

                      13. ชายไทยแต่งงานกับคนต่องด้วยเพศเดียวกัน โดยถูกต้องตามกฎหมายของประเทศของสามี (ชายแต่งงานกับชาย หญิงแต่งงานกับหญิง) กฎหมายไทยรับรองการแต่งงานดังกล่าวหรือไม่ และจะมีสิทธิตามที่กฎหมายระบุไว้หรือไม่

                      ตอบ คู่สมรสที่เป็นเพศเดียวกัน สมรสถูกต้องตามกฎหมายเยอรมันกฎหมายไทยไม่รับรองการสมรสดังกล่าวว่าสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติว่า การสมรสจำทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หมายถึงการสมรสที่ถูกกฎหมายไทยต้องสมรสระหว่างชายกับหญิงเท่านั้นกฎหมายไทยยังไม่ได้ให้การรับรองสิทธิของบุคคลเพศเดียวกันในการสมรสกัน

                      การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ตามประมวลกฎหทายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459 นั้น หมายถึง การสมรสระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น จึงจะถือว่ามีผลตามกฎหมายไทยด้วย

                      กรณีคนเพศเดียวกันแต่งงานด้วยกัน จึงไม่มีฐานะเป็นคู่สมรสจะใช้ กฎหมายไทยว่าด้วยเรื่องครอบครัว มรดก มาใช้บังคับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินที่หามาได้ในระหว่างที่อยู่ด้วยกันนั้นตามกฎหมายไทยถือว่าเป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน

                      14. กรณีที่จะไปรับมรดกจากบิดาที่เสียชีวิตไปแล้ว เป็นเวลานานกว่า 10 ปี และดิฉันยังไม่ได้ไปแจ้งการเปลี่ยนนานสกุล หลังจดทะเบียนสมรสที่เมืองไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อสกุลก่อนรับมรดกหรือไม่

                      ตอบ คุณได้จดทะเบียนสมรสที่เมืองไทยกับสามีชาวต่างชาติหรือคนไทยก็ตาม คุณมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของตนเอง หรือของสามีหรือใช้ชื่อสกลุกสองนามสกุลร่วมกันได้ ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนชื่อสกุลตามสามีหรือยังใช้ชื่อสกุลของตนเอง คุณก็มีสิทธิรับมรดกจากบิดาคุณได้ ถ้าคุณเป็นทายาทโดยธรรมหรือเป็นผู้รับพินัยกรรม (ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 12 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548)

                      15. ต้องการฟ้องหย่าสามีคนไทยที่อยู่ที่ประเทศไทยที่แยกกันอยู่มาแล้วเกินกว่า 3 ปี ได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไร

                      ตอบ ในการฟ้องหย่านั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ได้ระบุถึงเหตุฟ้องหย่าในกรณีแยกกันอยู่ว่า สามีและภริยาซึ่งสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขมาเกิน 3 ปี หมายความว่าถ้าสามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็สามารถฟ้องหย่าได้ตามเหตุฟ้องหย่าดังกล่าว

                      16. ต้องการฟ้องหย่าสามีชาวไต้หวันซึ่งขณะนี้อยู่ที่ประเทศไต้หวัน โดยได้จดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย ซึ่งโดยตนเองเป็นฝ่ายทิ้งสามีชาวไต้หวันมาแล้วเป็นเวลากว่า 3 ปี จะฟ้องหย่าได้หรือไม่

                      ตอบ ในกรณีเช่นนี้เมื่อตนเองเป็นฝ่ายทิ้งสามีมาก่อนถ้าสามีไม่สมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับภริยาก็ไม่อาจจะฟ้องหย่าได้ ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ได้ระบุเหตุฟ้องหย่าในกรณีแยกกันอยู่ว่า สามีและภริยาซึ่งสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขมาเกิน 3 ปี หมายความว่าถ้าสามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็สามารถฟ้องหย่าได้ตามเหตุฟ้องหย่าดังกล่าว

                      17. ชายและหญิงไทยต้องการจดทะเบียนสมรสที่บรูไน ดารุสซาลามได้หรือไม่

                      ตอบ ตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459 แล้วถ้าทั้งชายและหญิงเป็นคนที่มีสัญชาติไทยจะจดทะเบียนสมรสตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายของประเทศที่ชายและหญิงอาศัยอยู่ก็ได้ ในกรณีที่ชายและหญิงประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทยให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน แต่ถ้าจะจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศก็ให้ไปที่หน่วยราชการที่รับจดทะเบียนสมรสของประเทศนั้น ก็จะถือว่าการจดทะเบียนสมรสสมบูรณ์

                      18. การรับบุตรบุญธรรมจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

                      ตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรมไว้ว่า บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี จะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมได้ แต่ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย หากผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส จะต้องให้คู่สมรสยินยอมด้วย ส่วนการรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนกัน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามกฎหมายและเป็นเหตุให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองในตัวผู้เยาว์ด้วย

                     19. แต่งงานและอาศัยอยู่กับสามีชาวต่างชาติแต่เคยมีลูกอยู่ที่ประเทศไทยจะให้ลูกมาอยู่กับแม่ที่นี่ได้ไหม

                      ตอบ กรณีนี้เมื่อหญิงไทยได้ทำการสมรสถูกต้องการกฎหมายของประเทศสามีที่ตนไปมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว หญิงไทยก็เป็นบุคคลที่อยู่โดยถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ส่วนที่หญิงไทยได้เคยมีบุตรอยู่ที่ประเทศไทยก่อนที่จะทำหารสมรสกับสามีต่าวชาติ บุตรที่อยู่ที่ประเทศไทยของหญิงไทยไม่ใช่บุตรของสามีชาวต่างชาติ ดังนั้นการที่จะนำบุตรมาอยู่ด้วยก็จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนการขออนุญาตเข้าเมืองของประเทศนั้น (ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วเมื่อมารดาอยู่โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็สามารถขออนุญาตให้บุตรมาอยู่กับมารดาด้วยได้) แต่ก็อย่าลืมว่ามีบิดาที่ประเทศไทยและบิดามีอำนาจปกครองบุตรด้วย ก็ต้องดูว่าบิดาให้ความยินยอมหรือไม่ที่จะนำบุตรไปอยู่ด้วย

                      20. ทรัพย์ส่วนตัว กับสินส่วนตัวต่างกันอย่างไร

                      ตอบ คำว่า “ทรัพย์“ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137) ส่วนคำว่า “ทรัพย์สิน“ หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138)

                      นับตั้งแต่สามีภรรยาได้จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสได้ทรัพย์สินมา ถือว่าเป็นสินสมรส เมื่อมีการจดทะเบียนหย่า, ตาย ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลงคู่สมรสอีกฝ่ายขอแบ่งสินสมรสได้

                      1. ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

                      2. ที่เป็นเครื่องใช้สรอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือ เครื่องใช้ที่อาจจำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

                      3. ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หาไม่ต้องระบุเป็นสินส่วนตัวก็มีผลเป็นสินทรัพย์ส่วนตัวตามกฎหมาย

                      4. ของหมั่นที่ชายหมั่นหญิง

                      สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นก็ดี นำเงินส่วนตัวไปซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้รับมานั้นก็เป็นสินส่วนตัว เช่น นำเงินส่วนตัวไปซื้อที่ดิน, รถ ทรัพย์สินที่ได้มาถือว่าเป็นสินส่วนตัว ขายที่ดินได้เงินมา เงินนั้นก็เป็นส่วนตัว แต่ดอกผลของสินส่วนตัว เช่นดอกเบี้ย ค่าเช้าที่ดิน ฯลฯ ถือว่าเป็นสินสมรส เพราะเป็นการได้ทรัพย์สินมาระหว่างสมรส สินส่วนตัวของ คู่สมรสฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 - 1473)

                      ส่วนที่เรียกแตกต่างกันระหว่างคำว่า “ทรัพย์สินส่วนตัว“ กับ “สินส่วนตัว“ นั้นเป็นถ้อยคำที่กรมที่ดินให้แยกความแตกต่างระหว่างคนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติโดยชอบด้วยกฎหมายกับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หารกเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของคนไทยที่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแร้ว ก็จะใช้คำว่า “สินส่วนตัว“ แต่ถ้าเป็นการสมรสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะเรียกทรัพย์สินส่วนตัวของคนไทยดังกล่าวว่า “ทรัพย์ส่วนตัว“ เพื่อมีให้เกินสับสนเท่านั้นเอง

หมวดมรดก

                      1. การรับมรดกต่างมารดา เป็นคนไทยทั้งคู่ ทรัพย์อยู่ในประเทศไทย

             ก. กรณีที่บิดาเสียชีวิต แต่ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร ลูกที่ต่างมารดาจะมีสิทธิรับมรดกหรือไม่ ถ้าใช้ชื่อสกุลของบิดา

                      ตอบ ลูกต่างมารดาที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของตนตามกฎหมายไทยถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดาไม่มีสิทธิได้รับมรดก ยกเว้น บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายได้กระทำการต่อไปดังนี้

                    1. นำบุตรและมารดาไปที่อำเภอหรือสำนักงานเขต เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตร โดยความยินยอมของมารดา

                    2. กระทำโดยพฤตินัย กล่าวคือ ให้ใช้ชื่อสกุล ให้การสศึกษาบุตร และอยู่อาศัยจัดงานเลี้ยงแสดงตนเป็นบิดาบุตร บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627)

            ข. ถ้ามรดกได้โยกย้ายจากต่างมารดา-ต่างบุตรโดยที่เราไม่ได้รับรู้จะทำอย่างไร

                      ตอบ   1. ทายาทโดยธรรม คนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก เท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉนหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นจ้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลย

                                2. ถ้าทายาทโดยธรรมได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วยที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605)

คุณเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ทายาทอื่นได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ดังนั้นคุณจึงเป็นผู้เสียหายถูกโต้แย้งสิทธิจังสามารถยื่นคำร้องขอต่าศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำจัดทายาทที่ยักย้ายทรัพย์มรดกมิให้ได้รับมรดก คุณสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่หรือที่ภูมิลำเนาจำเลย

                      2. ที่ดินในประเทศไทยเป็นมรดกตกทอด คือคุณพ่อคุณแม่ได้มอบที่ดินไว้ดิฉันอยากจะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์สถานตลอดกาล สร้างที่เก็บอัฐิของท่านและญาติพี่น้องไว้ที่นั้นด้วย ถ้าเวลาที่ดิฉันเสียชีวิตไป ที่ผืนนี้ตกไปเป็นของลูกหลาน ดิฉันกลัวเขาจะเอาไปขาย เราจะทำอย่างไรให้ที่ดินผืนนี้ได้คงอยู่ถาวรตลอดกาลโดยผู้ที่อยู่ต่อจากดิฉันไปจะเอาไปจำนองหรือขายไม่ได้

                      ตอบ คุณพ่อคุณแม่ของคุณได้มอบที่ดินให้คุณโดยพินัยกรรมหรือยกให้หรือเป็นมรดกตกทอดแก่คุณ ถือว่าคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว คุณจึงมีสิทธิจำหน่ายโอนได้ ถ้าคุณต้องการเก็บที่ดินผืนนี้ไว้ เพื่อเก็บอัฐิของครอบครัวคุณ คุณต้องจัดการตั้งมูลนิธิโดยแสดงวัตถุประสงค์ตามที่คุณต้องการ การจัดตั้งมูลนิธิคุณสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิตามแบบ ม.น. 1 ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะจัดตั้งขึ้น โดยในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานเขต ส่วนในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ ส่วนรายอะเอียดสอบถามได้ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องต้องดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำแทน

             (กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการและการทะเบียนมูลนิธิ 2545 ข้อ 2-11)

                      3. ดิฉันทำพินัยกรรมให้ลูก แต่ไม่ได้ทำให้สามี ถ้าดิฉันเสียชีวิตก่อนแล้วสามีจะมีส่วนแบ่งในทรัพย์สินที่มีอยู่ในเมืองไทยหรือไม่ (ไม่มีลูกกับสามีฝรั่ง แต่มีลูกที่เมืองไทย)

                      ตอบ กรณีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย (พรบ.ขัดกัน) มารดามีทรัพย์สินส่วนตัวหรือสินเดิมมารดามีสิทธิทำพินัยกรรม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 วรรคสอง)

                      ส่วนสามีไม่สามารถเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมในส่วนที่คุณยกให้กับลูกได้ แต่ถ้ามีทรัพย์มรดกอื่นๆที่คุณไม่ด้จำหน่าย หรือให้โดยเสน่หา หรือทำพินัยกรรมยกไว้ให้แก่ลูกหรือคนอื่น สามีโดยชอบด้วยกฎหมายห็เป็นทายาทโดยธรรมของภริยา อยู่ในอันดับเดียวกับบุตร มีส่วนต้องแบ่งในมรดกเท่ากันกับบุตร

                      4. น้องสาวคนไทยซื้อบ้านพร้อมที่ดิน แม่ตาย พ่อไม่รู้อยู่ที่ไหน ไม่ได้ติดต่อกันมา 40 ปี ไม่มีลูก มีพี่น้อง 4 คน รวมทั้งผู้ถามซึ่งเป็นบุตรของพ่อแม่เดียวกัน ส่วนอีก 2 คนที่เหลือคนละพ่อ ถ้าน้องสาวตาย สมบัติจะเป็นของใคร ถ้าจะทำพินัยกรรมยกให้หลานชายให้ทำที่ไหน

                      ตอบ บิดาที่ประเทศไทยไม่รู้อยู่ที่ไหน ไม่ได้ติดต่อกันมา 40 ปี คุณต้องไปร้องขอต่อศาลให้บิดาคุณเป็นคนสาบสูญ บิดาคุณได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้น ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ของบุคคลดัวกล่าวร้องขอต่อศาล ขอให้ศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญได้ บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าถึงแก่ความตาย (ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61,62) ผู้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา

                      กรณีน้องสาวตาย น้องสาวเป็นโสด ไม่มีบุตร ไม่ได้รับบุตรบุญธรรม บิดามารดาเสียชีวิตแล้ว ทายาทโดยธรรมที่เหลือได้แก่ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ 3 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (3)) ดังนั้น เฉพาะคุณคนเดียวเท่านั้นที่เป็นทายาทโดยธรรมที่จะได้รับมรดกของน้องสาวผู้ตายส่วนน้องอีก 2 คน เป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันแต่ต่างบิดาจังไม่มีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะทายาทโดยธรรมอันดับ 3 ยังมีชีวิตอยู่

                      กรณีน้องสาวต้องการทำพินัยกรรมยกที่ดินให้หลานสามารถทำได้ 5 แบบ คือ

                      1. พินัยกรรมแบบธรรมดา กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้ ลงวัน เดือน ปี ที่ขณะทำนั้นผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน และพยานลงลายมือชื่อ พยานต้องไม่เป็นผู้รับพินัยกรรมและบรรลุนิติภาวะแล้ว (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656)

                      2. พนัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ ลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน การลบตกเติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำด้วยลายมือของตนเองและลงลายมือชื่อกำกับไว้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657)

                      3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง กล่าวคือ ผู้ทำไปแจ้งความประสงค์ทำพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอกรณีอยู่ต่างจังหวัด ในกรุงเทพแจ้งที่สำนักงานเขต (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658)

                      4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมทำเป็นหนังสือหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ลงวัน เดือน ปี ที่ทำและลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ใส่ซองหรือผนึกพินัยกรรม ลงลายมือชื่อคาบทับรอยผนึกนั้น และนำไปแสดงต่ออำเภอหรือสำนักงานเขต และพยานอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลนั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน และส่งพินัยกรรมให้เจ้าหน้าที่ เพื่อลงนามและประทับตราตำแหน่ง (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660)

                      5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา กล่าวคือ เมื่อมีพฤติกรรมพิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย มีโรคระบาด สงคราม บุคคลนั้นทำพินัยกรรมด้วยว่าจาได้ต่อหน้าพยาน 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยาน 2 คน ต้องไปแจ้งที่อำเภอหรือสำนักงานเขตโดยไม่ชักช้า (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663)

                      กรณีคนไทยในต่างแดน จะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ พินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ตนอยู่กำหนดไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทยกำหนด โดยอำนาจและหน้าที่ของอำเภอ หรือสำนักงานเขตตกแก่ สถานทูตไทย หรือกงสุลไทย หรือพนักงานใดๆ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ที่จะรับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1667)

                      5. เพิ่งแต่งงานแล้วสามีตาย จะได้รับมรดกของสามีที่เสียชีวิตหรือไม่

                      ตอบ คุณแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับสามีไม่ว่าจดทะเบียนในประเทศไทยหรือประเทศของสามีคุณ ถือว่าคุณเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายสามีคุณตายคุณเป็นทายาทโดยชอบธรรมมีสิทธิรับมรดก ยกเว้นสามีคุณได้ทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องเป็นไปตามพินัยกรรมนั้น

                      6. สามีเสียชิวิตแล้ว แต่มีสิทธิอยู่ในบ้านได้จนสิ้นอายุขัย หลังจากนั้นบ้านเป็นของลูก ลูกของสามีที่เสียชีวิตต้องการกุญแจบ้าน ต้องใด้กุญแจแก่เขาหรือไม่

                      ตอบ สามีเสียชีวิต ภรรยามีสิทธิอยู่ในบ้านได้จดสินิอายุขัย ตามพินัยกรรมหรือพินัยกรรมที่สามีคุณทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย คุณมีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านนั้นจนกว่าคุณจะตาย

                      บ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกสามีคุณ ดังนั้นจึงมีสิทธิในบ้านทุกประการดังนั้นคุณต้องให้กุญแจแก่ลูกสามี

                     7. ดิฉันเกษียณอายุแล้ว จะกลับไปอยู่เมืองไทยกับสามี ต้องการจะทำพินัยกรรมให้สามีได้มีโอกาสอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินของเราตลอดเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ ทำได้หรือไม่

                      ตอบ กรณีคุณเป็นคนสัญชาติไทยและบ้านพร้อมที่ดินอยู่ในประเทศไทย ถ้าคุณมีทายาทโดยธรรมเป็นคนสัญชาติไทยและยกที่ดินพร้อมบ้านให้บุคคลนั้นคุณมีสิทธิให้สามีคุณมีสิทธิอาศัยในบ้านดังกล่าวได้จนกว่าสามีชาวต่างชาติของคุณจะตาย แบบของพินัยกรรมได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว(ให้ตรวจสอบว่ามีการจดทะเบียนสิทธิ) และคุณต้องให้ทายาทผู้รับพินัยกรรมไปจดทะเบียนสิทธิอาศัยตลอดชีวิตต่อพนังงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินพร้อมบ้านตั้งอยู่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 1 และมาตรา 1403 วรรค 1)

                      8. บิดามารดาเสียชีวิตแล้วมีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกที่ประเทศไทย ขณะนี้พี่น้องที่ประเทศไทยแบ่งสรรที่ดินไปทำกินกันแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่สำนักงานที่ดิน ขอปรึกษาต้องทำอย่างไรบ้างถ้าจะแบ่งสรรที่ดินระหว่างตนเองและพี่น้องให้ถูกต้องตามกฎหมาย

                      ตอบ กรณีนี้ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม จะเป็นการโอนรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมที่ไม่มีพินียกรรม หากทายาทซึ่งคือพี่น้องทุกคนตกลงกันได้และมีความสะดวกสามารถที่จะไปจดทะเบียนโดนรับมรดกได้ด้วยตนเองแล้ว ทายาทสามารถยื่นคำร้องต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ขอรับโอนมรดกที่ดินโดยลงชื่อทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคนลงในโฉนดที่ดิน หรือหากตกลงกันได้ว่าจะลงชื่อทายาทคนใดคนหนึ่งหรือสองคนลงในโฉนดที่ดิแปลงหนึ่งแปลงใดก็ได้ โดยให้ทายาทโดยธรรมคนอื่นๆให้คำยินยอมต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ ทั้นนี้ทายาทโดยธรรมทุกคนจะต้องไปพบพนังงานเจ้าหน้าที่ด้วนตนเองเพื่อให้ความยินยอมและให้ถ้อยคำต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ในทางปฏิบัติ ทางสำนักงานที่ดินมักจะให้ผู้ที่ขอโอนที่ดินขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกมาก่อนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีปัญหาภายหลัง ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ ทายาทสามารถมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน) หรือสำนักงานอัยการจังหวัดเพื่อขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวได้ เมื่อมีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้จัดการมรดกก็สามารถจัดแบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

                     9. ต้องการเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินในโฉนดที่ดินจากชื่อภริยาที่เสียชีวิตไปแล้วมาเป็นของบุตรชายต้องทำอย่างไรบ้าง

                      ตอบ กรณีนี้ต้องดูว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกที่มีหรือไม่มีพินัยกรรม ถ้าไม่มีพินัยกรรมจะเป็นการโอนรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมที่ไม่มีพินัยกรรม หากทายาทซึ่งคือบิดายอมที่ให้ที่ดินเป็นของบุตรชาย และมีความสะดวกสามารถที่จะไปจดทะเบียนโอนรับมรดกได้ด้วยตนเองแล้ว ทายาท(บิดา)สามารถยื่นคำร้องต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ขอรับโอนมรดกที่ดินโดยลงชื่อทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งคือบุตรชายลงในโฉนดที่ดิน โอยให้ทายาทโดยธรรม(บิดา) ให้คำยินยอมต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ทายาทโดยธรรมทุกคนจะต้องไปพบพนังงานเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองเพื่อให้ความยินยอมและให้ถ้อยคำต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ในทางปฏิบัติ ทางสำนักงานที่ดินมักจะให้ผู้ที่ขอโอนที่ดินขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกมาก่อนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีปัญหาภายหลัง ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ บิดาสามารถมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน) หรือสำนักงานอัยการจังหวัดเพื่อขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวได้ เมื่อมีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้จัดการมรดกก็สามารถจัดแบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

                      10. ต้องการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้บุตรที่ประเทศไทยต้องทำอย่างไร

                      ตอบ ตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ได้บัญญัติเกี่ยวกับแบบของพินัยกรรมไว้หลายแบบ แต่ที่สามารถทำได้อย่างสะดวกจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

                      (1) พินัยกรรมแบบธรรมดา คือ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ โดยต้องลง วันที่ เดือน ปี ขณะทำพินัยกรรม และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน และพยานทั้ง 2 คน จะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้นด้วย ถ้าผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อตนเองไม่เป็นจะพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นอีก 2 คน และ

                      (2) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ คือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยตนเอง ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ ไว้ในพินัยกรรมจะลงลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้

                      ตามกรณีนี้เมื่อต้องการทำพินัยกรรมให้บุตรที่ประเทศไทยโดยตนเองอยู่ที่ต่างประเทศ ตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1667 แล้ว เมื่อคนไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศพินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่อาศัยอยู่บัญญัติไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจคือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของต่างประเทศนั้นๆ หรือตามแบบกฎหมายไทยก็ได้ (ตามแบบที่กล่าวข้างต้น) โดยถ้าจะทำแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ เช่น พินัยกรรมฝ่ายเมืองหรือพินัยกรรมเอกสารลับ ซึ่งต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน (ซึ่งรายละเอียดของการทำพินัยกรรมประเภทต่างๆนี้ได้กล่าวไว้แล้วในข้อ 4 ของหมวดนี้) กรณีนี้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ คือ พนักงานพูต หรือ กงสุลไทย ที่จะรับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานได้

                       11. หย่ากันสามีต่างด้าวสิบกว่าปีแล้ว ทรัพย์สินที่เมืองไทยเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมา ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่บุตรสัญชาติเยอรมัน (ไม่มีสัญชาติไทย) ทรัพย์สินมีบ้านห้องชุด ที่ดินจำนวนมาก ทำอย่างไรจะให้ลูกได้รับสิทธิตามพินัยกรรม จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร บุตรสาวอายุเกิน 20 ปีแล้ว จะขอสัญชาติไทย โดยการแจ้งเกิดย้อนหลังได้หรือไม่ (ผู้ถามไม่มีญาติพี่น้องหรือผู้จะมีสิทธิรับมรดกอีกเลย นอกจากบุตรคนเดียว)

                      ตอบ คุณหย่ากับสามีต่างด้าวแล้ว และมีบุตรด้วยกัน 1 คน มีสัญชาติเยอรมันเพียงสัญชาติเดียว บุตรขณะนี้อายุเกิน 20 ปีแล้ว คุณสามารถทำพินียกรรมยกที่ดินพร้อมบ้าน อสังหารินทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆให้บุตรคุณได้โดยคุณสามารถทำพินัยกรรมตามแบบต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 4 ปัจจุบันบุตรคุณถือว่าเป็นบุคคลต่างด้าว เมื่อได้ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมาต้องจำหน่ายออกไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 87,96,96 ทวิ

                      กรณีที่ต้องการให้บุตรสาวคุณได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ดินทั้งหมดตามพินัยกรรม ต้องให้บุตรของคุณได้หลังฐานจากราชการไทยว่ามีสัญชาติไทยก่อนตามกฎหมายไทย บุตรของคุณมีมารดาเป็นคนสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนก็ได้สัญชาติไทยอยู่แล้วโดยกำเนิด เพียงแต่เมื่อไม่ได้แจ้งเกิดไว้ต่อทางราชการไทยคุณจะต้องนำเนินการเพิ่มชื่อบุตรของคุณในทะเบียนบ้านเมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยให้เจ้าบ้านที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่แจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่เพื่อขอเพิ่มชื่อพร้อมแสดงหลังฐานการเป็นบุตร

หมวดการเกณฑ์ทหาร

                      1. เด็กชายไทยที่เกิดในมาเก๊า แต่ถือหนังสือเดินทางของประเทศไทย จะต้องไปเกณฑ์ทหารหรือไม่

                      ตอบ ชายผู้มีสัญขชาติไทยจะต้องเกณฑ์ทหาร

                      2. ถ้าบิดามารดาเป็นคนไทย ไปประกอบอาชีพส่วนตัวที่สหรัฐอเมริกา และบุตรชายเกิดที่นั่น 1 คน ตั้งแต่บุตรชายเกิดทั้งบิดามารดาและบุตรไม่เคยกลับประเทศไทยเลย บุตรไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนในปี 2541 บุตรมีอายุย่าง 18 ปี ซึ่งครบกำหนดจะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน บิดาจึงบอกแก่บุตรให้เขียนจดหมายถึงอา (น้องชายของบิดา) ซึ่งอยู่ในประเทศไทยพร้อมกับส่งสำเนาสูติบัตร และให้บุตรแจ้งว่ามีตำหนิแผลเป็นที่คอมาเพื่อให้อาไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทนไว้ก่อน เพราะกลัวว่าเมื่อกลับมาอยู่ประเทศไทย หากไม่ลงบัญชีฯตามที่กำหนดจะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืนกรณีนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่อย่างไร

                      ตอบ กรณีนี้ผู้เป็นอาจะต้องนำสำเนาสุติบัตรไปพบเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอที่บิดามารดามีภูมีลำเนา เพื่อแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทน เจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอ จะให้ผู้แจ้งแทนกรอกข้อความลงในใบแสดงตน เพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน(แบบ สด.44) เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานแล้ว เห็นว่ายังขาดสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอลงบัญชีฯก็จะบันทึกเสนอนายอำเภอให้ชะลอการลงบัญชีทหารกองเกินไว้ก่อน เมื่อหลักฐานครบแล้ว จึงค่อยสอบสวนดำเนินการรับลงบัญชีฯให้ตามระเบียบ เมื่อนายอำเภอเห็นชอบ ให้ผู้แจ้งเซ็นทราบไว้ในใบแสดงตน เพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.44) แล้วถ่ายสำเนาให้ผู้แจ้งแทนเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ เมื่อมีเอกสารครบแล้ว แม้จะมาลงบัญชีฯ เกินกำหนดก็ไม่ต้องถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืนแต่อย่างใด เพราะได้ยื่นคำร้อง คือใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.44) ไว้แล้ว

                      3. เหลือง เป็นผู้มีสัญชาติไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่ไต้หวันและมีความสัมพันธ์กับนายจ้างจนมีบุตรชายร่วมกัน 1 คน ชื่อ ด.ช.เหลียง เกิดเมื่อ 2 เมษายน 2524 ต่อมาเมื่อ 13 เมษายน 2529 นางเหลืองได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อมบุตร และมาอยู่กับแม่ที่อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนและได้เพิ่มชื่อบุตรชายไว้ในทะเบียนบ้านเรียบร้อย ต่อจากนั้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2529 นางเหลืองได้กลับไปทำงานที่ไต้หวันตามเดิมโดยให้ลูกชายอยู่กับยายที่บ้านอำเภอโนนไทย เมื่อลูกชายอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน ต่อจากนั้นนางเหลือง ได้ให้บุตรชายไปทำงานด้วยกันที่ไต้หวัน กรณีนี้ เมื่อนายเหลียงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ซึ่งครบกำหนดลงบัญชีทหารกองเกิน จะต้องปฏิบัติอย่างไร

                      ตอบ นายเหลียง จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดง เมื่อจะมาลงบัญชีทหารกองเกิน ณ อำเภอโนนไทย แต่ถ้านายเหลียงเห็นว่าจะมาลงบัญชีฯด้วยตัวเองไม่สะดวกเพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง นายเหลียงก็สามารถมอบให้ยายเป็นผู้ไปแจ้งแทนได้ โดยบอกตำหนีแผลเป็นที่เห็นได้ง่ายชัดเจนเหนือเอวขึ้นไปให้ยายทราบ เพื่อยายจะได้ไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทนได้ถูกต้อง เมื่อได้รับลงบัญชีฯ แล้วทางอำเภอจะออกใบสำคัญ (แบบ สด.9) มอบให้ยายเพื่อนำไปมอบให้แก่นายเหลียง เก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป

                      4. นายฉมัง แม่นนัก กับ นางโฉม รูปงาม ได้จดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามกฎหมาย และมีบุตรชายร่วมกัน 1 คน ชื่อ ด.ช.ฉมวก ต่อมาเมื่อ ด.ช. ฉมวก อายุได้ 13 ปี นายฉมังและนางโฉมได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย โดยนางโฉมเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร หลังจากหย่ากันแล้วไม่ทราบว่านายฉมังไปอยู่ที่ไหนไม่สามารถติดต่อได้ ขณะนี้นายฉมวกมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ซึ่งจะต้องลงบัญชีทหารกองเกินกรณีนี้ จะปฏิบัติอย่างไร

                      ตอบ ตามหลักกฎหมาย ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ จะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ ซึ่งบิดามีภูลำเนา ในกรณีนี้ ถ้าสอบสวนได้ความชัดแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อกับบิดาได้ ก็ให้ลงบัญชีทหารกองเกิน ที่อำเภอท้องที่ที่มารดามีภูมิลำเนาโดยนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนไปประกอบหลักฐานการลงบัญชีฯด้วย

                      5. กระผมมีลูกชายอยู่หนึ่งคน ส่งไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่อายุ 15 ปี ขณะนี้อายุ 17 ปีบริบูรณ์ จะลงบัญชีทหารกองเกินอย่างไร

                      ตอบ ให้บิดาหรือมารดาหรือผู้บรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทน ณ อำเภอภูมิลำเนาของบิดา โดยนำสำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร รูปถ่ายของผู้ขอลงบัญชีฯ (ลูกชาย) สำเนาหนังสือเดินทางไปต่างประเทศและหลักฐานการศึกษา เพื่อเจ้าหน้าที่สัสดี จะได้ตรวจสอบหลักฐาน และสอบสวนว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยจริง และไม่ผิดตัวในการลงบัญชีฯกรณีนี้ ถ้าไม่มีสูติบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ประกอบการรับลงบัญชีฯ และผู้แจ้งแทนจะต้องทราบตำหนีแผลเป็นของผู้ขอลงบัญชีฯด้วย ถ้าหลักฐานไม่ครบ เจ้าหน้าที่จะบันทึกในใบคำร้อง คือ ใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.44) ไว้เป็นหลักฐานเมื่อได้หลักฐานครบ แต่เกินกำหนดเวลาลงบัญชีฯ แล้วจะได้ไม่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน

                      6. กระผมเป็นนักศึกษาไม่ได้เรียนรักดินแดง ขณะนี้อายุ 21 ปีบริบูรณ์ จะทำอย่างไรถึงจะขอผ่อนผันได้

                      ตอบ ต้องรีบไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ทำเรื่องขอผ่อนผัน เพื่อดำเนินการส่งรายชื่อขอผ่อนผัน ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหารโดยด่วน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากองประจำการหากเกินกำหนดจะไม่ได้รับสิทธิในการผ่อนผัน

                      7. พ่อกับแม่ของกระผมหย่ากัน พ่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่แม่อยู่กรุงเทพฯ กระผมอยู่กับแม่ที่กรุงเทพฯ จะลงบัญชี ฯ ที่ กรุงเทพฯ จะได้หรือไม่

                      ตอบ ได้ แต่ต้องย้ายทะเบียนบ้านของพ่อมาอยู่กับแม่ที่กรุงเทพฯ ด้วย เมื่อลงบัญชี ฯ เสร็จแล้ว จึงค่อยย้ายทะเบียนบ้านของพ่อไปอยู่ที่เชียงใหม่ตามเดิม

                      8. ผมเสียเงินไปแล้ว อยากทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อถึงวันเกณฑ์ผมไม่ไปเกณฑ์ทหาร

                      ตอบ ถ้าไม่ไปเกณฑ์ทหาร จะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืนกล่าว คือ ถ้ายังไม่ได้รับหมายเรียกฯ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ารับหมายเรียกฯ แล้ว จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ทุกคนจะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก และจะได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.43) จากประธานกรรมการตรวจเลือก ในวันตรวจเลือกเท่านั้น ถ้าได้รับในวันอื่น ถือว่าเป็นเอกสารที่ทางราชการมิได้ออกให้ หากผู้ใดนำไปใช้ถือว่าใช้เอกสารปลอม จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

                      9. ขณะนี้เหตุการณ์ปกติไม่มีสงครามแล้ว ควรจะยกเลิกการเกณฑ์ทหารได้หรือไม่

                      ตอบ ไม่ได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหมดให้บุลคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศโดยรับราชการทหารดังนั้น จึงต้องมีการตรวจเลือกทหารทุกปีเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้ทั้งในยามปกติและในยามสงครามทั้งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญด้วย 

                      10. ถ้าไม่ลงบัญชีทหารกองเกินจะมีความผิดอย่างไร

                      ตอบ ถ้าเกินกำหนดระยะเวลาลงบัญชีฯ จะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน กล่าวคือ ถ้าเจ้าหน้าที่สัสดีส่งรายชื่อไปให้ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเจ้าตัวได้มาแสดงตนขอลง บัญชีฯ ก่อนที่เจ้าหน้าที่สัสดีจะส่งรายชื่อไปให้ตำรวจติดตามจับกุมตัว ต้องระวางโทษจะคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                      11. ถ้าอายุ 17 ปี แล้ว ยังอยู่เมืองนอกสามารถไปแจ้งลงบัญชีฯ ที่สถานทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ ได้หรือไม่

                      ตอบ ไม่ได้ แต่จะแจ้งแทนได้ โดยต้องให้บุลคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และเชื่อถือได้ที่อยู่ในประเทศไทยไปแจ้งการลงบัญชีฯ แทน ณ อำเภอภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี โดยนำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบตรพร้อมทะเบียนบ้าน และต้องทราบตำหนิแผลเป็นของผู้ขอลงบัญชีฯ ด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอจะได้ตรวจสอบหลักฐาน และสอบสวนผู้แจ้งแทน หากปรากฏชัดเจนว่าผู้ขอลงบัญชีฯ มีอายุอยู่ในกำหนดลงบัญชีฯ มีสัญชาติไทยจริง มีภูมิลำเนาถูกต้อง ก็จะดำเนินการลงบัญชีฯ ให้ พร้อมกับออกใบสำคัญ (แบบ สด.9) มอบให้ผู้ขอลงบัญชีฯ แทนรับไป เพื่อนำไปมอบให้กับเจ้าตัว เก็บไว้เป็นหลักฐาน

                      12. ผมมีสิทธิผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร แต่ผมเสี่ยงไปเข้ารับการตรวจเลือกและถูกเข้ากองประจำการ กรณีนี้ผมจะขอผ่อนผันลาไปศึกษาต่อจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงค่อยเข้ารับราชการในกองประจำการจะได้หรือไม่

                      ตอบ ไม่ได้ เพราะเป็นการสละสิทธิ์ในการผ่อนผัน โดยสมัครใจเข้ารับราชการตรวจเลือก ดังนั้นเมื่อถูกเข้ากองประจำการ จะต้องเข้ารับราชการในกองประจำการตามกำหนดในหมายนัดของนายอำเภอ จะขอผ่อนผันลาไปศักษาต่ออีกไม่ได้

                      13. ขณะนี้ผมอายุ 22 ปีบริบูรณ์ ปีที่แล้วผมรับหมายเรียกฯ แต่ไม่ได้ไปตรวจเลือกอยากทราบว่าปีนี้ จะไปตรวจเลือกได้หรือไม่หรือจะต้องปฏิบัติอย่างไร

                      ตอบ ถ้าได้รับหมายเรียกฯ แล้ว ไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือกมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี เจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีหากไปในวันตรวจเลือกทางคณะกรรมการตรวจเลือก จะแจ้งให้ทางอำเภอส่งตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีสิ้นสุดแล้ว ทางอำเภอจะมอบหมายเรียกฯ ให้ไปเข้ารับการตรวจเลือกต่อไป

                      14. นักศักษาได้แจ้งขอผ่อนผันการตรวจเลือกต่อสถานศักษา และสถานศึกษาได้ส่งรายชื่อขอผ่อนผัน ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยทำเรื่องขอผ่อนผันส่งไปพร้อมกันจำนวน 15 คน ซึ่งมีภูมิลำเนาทหารอยู่จังหวัดเดียวกัน ปรากฏว่าได้รับการผ่อนผัน 14 คน ส่วนอีก 1 คน ชื่อตกหล่นไม่ได้รับการผ่อนผันจึงต้องเข้ารับการตรวจเลือก และจับสลากถูกเข้ากองประจำการแผนกทหารบก อยากทราบว่าทำอย่างไรถึงจะได้รับการผ่อนผันเช่นเดียวกันกับ 14 คนนั้น

                      ตอบ กรณีนี้ จะต้องยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการชั้นสูง โดยติดตามที่แผนกสัสดีจังหวัด ที่เข้ารับการตรวจเลือก เพื่อขอความเป็นธรรม ถ้าคณะกรรมการชั้นสูงพิจารณาแล้ว ปรากฏหลักฐานจัดเจนว่า เกิดบกพร่องทางธุรการ เนื่องจากมิได้เพิ่มรายชื่อไว้ในบัญชีเรียกประเภทคนผ่อนผัน คณะกรรมกราชั้นสูง ก็จะตัดสินงดส่งตัวเข้ากองประจำการ ให้กลับมีสภาพเป็นทหารกองเกิน และสิทธิได้รับการผ่อนผันต่อไป

                      15. เมื่อนักศักษาจบการศึกษาแล้ว สถานศึกษาของเอกชนจะต้องแจ้งให้กระทรวงกลาโหมทราบ เพื่อจำหน่ายจากคนผ่อนผันการเรียกพลนั้นต้องส่งผ่านกระทรวงศึกษาธิการก่อนหรือไม่

                      ตอบ กรณีที่จะทำเรื่องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้มีต้องต่อไปนี้ นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ถ้าเป็นทุนของกระทรวง ทบวง กรม หรือ ส่วนราชการใด โดยอยู่ในความประพฤติของผู้ดูแลนักเรียนไทยของรัฐบาลไทยสำหรับประเทศนั้นๆ สำนักงาน ก.พ.จะเป็นผู้ดำเนินการผ่อนผันต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเราทหารให้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกหนังสือผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร(แบบ สด. 41) ให้ไว้เป็นหลักฐานโดยมีเงื่อนไขว่า “ถ้าต้องออกจากการศักษากลับจากต่างประเทศมาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด หรือ ก.พ. ได้ขอถอนการผ่อนผัน การผ่อนผันเป็นอันยุติ“ ดังนั้น ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขตามที่แบบ สด.41 กำหดนไว้ เช่น กำลังศึกษาต่ออยู่ที่ต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าการผ่อนผันยังมีผลใาช้บังคับได้อยู่

                      ถ้าเป็นทุนส่วนตัว ต้องให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครอง ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร (อำเภอที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว) พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

                      1. หนังสือรับรองของสำนักศักษา (ระบุว่าไปศึกษาวิชาอะไร หลักสูตรกี่ปีให้แปลเป็นภาษาไทยกำกับ ลงชื่อ ตำแหน่งผู้แปลด้วย)

                      2. หนังสือรับรองของสถานทูต หรือ สถานกงสุล หรือผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศนั้นๆ

                      3. สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด.9)

                      4. หมายเรียก ฯ (แบบ สด.35) ถ้ามี

                      5. สำเนาทะเบียนบ้าน

                      เมื่อทางอำเภอสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการผ่อนผัน ก็จะดำเนินการให้โดยส่งหลักฐานไปยังจังหวัดเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแล้ว เห็นว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ ก็จะออกหนังสือผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.41) ให้ไว้เป็นหลักฐานโดยมีเงื่อนไขว่า “ถ้าต้องออกจากการศึกษา กลัวจากต่างประเทศ มาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด การผ่อนผันเป็นอันยุติ“ กรณีนี้เจ้าตัวจะต้องแจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหารและถ้าอายุยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกด้วย

ข้อควรจำ

          ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน เข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.43) ประธารกรรมการตรวจเลือก จะเป็นผู้มอบให้ผู้เข้ารับการตรวจเลือกทุกคน ในวันตรวจเลือกเท่านั้น หากไม่ได้ไปเข้ารับการตรวจเลือก แต่ได้รับใบรับรองผลฯ (แบบ สด. 43) จากบุุลคลอื่น ในวันอื่น แสดงว่าเป็นในรับรองผลฯปลอม มีความผิดต้องระวางโทษถึงจำคุก

หมวดอสังหาริมทรัพย์

                      1. จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ สามารถซื้อที่ดินได้หรือไม่ ดิฉันเคยโทรศัพท์สอบถามจากรายการ “กรองสถานการณ์“ เกี่ยวกับข้อจำกัดในการถือครองที่ดินหลังจากที่จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ออกรายการในวันนั้นก็ได้ตอบว่ายังสามารถซื้อขายหรือถือครองกรรมสิทธิ์ได้เหมือนคนไทยทั่วไป แต่ในความเป็นจริงทำไมเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินถึงไม่ทราบถึงเรื่องนี้ และพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน รบกวนช่วยให้ความกระจ่างแก่ดิฉันด้วยค่ะ ในฐานะที่ดิฉันยังเป็นคนไทยเหมือนเดิม

                      ตอบ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอซื้อที่ดิน หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวมิใช่เป็นสินสมรส พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไปกรณีดังกล่าว กรมที่ดินได้เคยเวียนหนังสือให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแล้ว ตามหนังสือ มท 0710/016051 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2543

                      2. ภรรมยาคนไทย สามีเป็นต่างชาติต้องการซื้อบ้านและที่ดิน ผมมีข้อสงสัยว่า ในกรณีที่ภรรยาเป็นคนไทย และมีสามีที่เป็นชาวอังกฤษ(แต่สามีมีเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่, และมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของภรรยา) ทั้งสองไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่มีบุตรด้วยกัน 2 คน(บุตรทั้ง 2 คนมีสัญชาติไทย) อยากสอบถามว่าหากทั้งสองต้องการซื้อบ้านพร้อมที่ดิน โดยโฉนดที่ดินจะเป็นชื่อภรรยา แต่สามีเป็นผู้มีรายได้เป็นผู้กู้เงินกับทางธนาคาร(เนื่องจากภรรยาไม่ได้ประกอบอาชีพ เป็นแม่บ้านดูแลบุตร) ในกรณีนี้สามารถกระทำการจดจำนอง และทำนิติกรรมที่กรมที่ดินได้หรือไม่ หากไม่ได้เพราะอะไร และหากกระทำได้ จะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

                      ตอบ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีสามีเป็นคนต่างด้าวโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีความประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมบ้าน สามีที่เป็นคนต่างด้าวต้องบันทึกยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ในวันจดทะเบียนซื้อขายว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอได้ โดยมิต้องสอบสวนอาชีพรายได้ของผู้ขอหรือที่มาของเงินแต่อย่างใด และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินย่อมตกเป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทย หารผู้ซื้อที่ดินมีความประสงค์จะจดทะเบียนจำนองไม่ว่าจะกระทำในวันเดียวกัน หรือในภายหลังก็สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องให้คู่สมรสที่เป้นคนต่างด้าวมาใด้ถ้อยคำยืนยันอีก อนึ่ง หารท่านมีข้อส่งสัยสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน โทร 0-2221-9189

                      3. หญิงไทยแต่งงานกับสามีชาวเยอรมันและได้เปลี่ยนชื่อนามสกุลตามสามีไปแล้วนั้น จะขายที่ดินที่เป็นสินเดิมได้หรือไม่

                      ตอบ กรณีที่ 1 หญิงไทยได้แต่งงานกับสามีชาวเยอรมันโดยถูกต้องตามกฎหมายเยอรมันหรือตามกฎหมายไทยและได้เปลี่ยนนามสกุลตามสามีไปแล้วนั้นหากหญิงไทยยังถือสัญชาติไทยอยู่ ตามกฎหมายไทยถือว่าหญิงไทยยังคงเป็นคนไทยมีสิทธิถือครองที่ดินได้อยู่ หากเป็นสินส่วนตัว เช่น ทรัพย์สินที่มีมาก่อนจดทะเบียนสมรส มรดกตกทอดจากบิดามารดา หรือจากการที่บุคคลอื่นให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา ทรัพย์สินเหล่านี้ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงไทยต่อไป

                      กรณีที่ 2 หญิงไทยแต่งงานกับชายชาวเยอรมันแล้วได้โอนสัญชาติตามสามี หญิงไทยดังกล่าวถือว่าเป็นบุคคลต่างด้าว ทรัพย์สินเดืมที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ต้องจำหน่ายออกไปภายใน 1 ปี ตามระเบียบกระทรวงหมาดไทย แต่บุคคลต่างด้าวมีสิทธิถือครองที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ ถ้านำเงินมาลงทุนในประเทศไทยจำนวนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาทและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ภายให้หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                      4. แต่งงานกับภริยาคนไทยและมีบุตรด้วยกัน บุตรชายอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมัน ถือสัญชาติไทยตามมารดา บุตรชายสามารถที่จะรับมรดกที่ดินจากภริยาได้หรือไม่

                      ตอบ กรณีภริยาเป็นคนไทย ทรัพย์มรดกอยู่ที่ประเทศไทย บุตรชายเกินจากหญิงที่ไม่ได้ทำการสมรสกับชาย บุตรชายจึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น บุตรชายของคุณซึ่งมีสัญชาติไทยจังเป็นทายาทโดยธรรมของภริยาคุณและมีสิทธิได้รับมรดกของมารดาตามกฎหมายไทย

                       5. ดิฉันนำลูกชายมาจากเมืองไทยมาแต่งงานกับคนเยอรมัน ขณะนี้ลูกชายอายุ 22 ปี พ่อคนไทยเสียชีวิตลง ลูกชายได้รับมรดกที่ดิน ลูกชายซึ่งปัจจุบันถือสัญชาติเยอรมันจะมีสิทธิในที่ดินไหม จะต้องทำอย่างไรกับมรดก

                      ตอบ บุตรชายปัจจุบันถือสัญชาติเยอรมัน ถ้าได้มีการสละสัญชาติไทยแล้วตามกฎหมายไทยถือว่า บุตรชายคนดังกล่าวเป็นบุคคลต่างด้าว จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 93 ซึ่งถึงว่า เป็นการรัยมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม บุตรของคุณแม้เป็นคนต่างด้าวก็ไม่ต้องจำหน่ายที่ดินที่รับมรดกโดยรัฐมนตรีว่าการกราทรวงมหาดไทยจะอนุญาตให้ได้มาซี่งที่ดินมรดกได้ แต่เมื่อรวมกับที่ดินคนต่างด้าวมีเพื่อใช้เป็นที่อาศัยแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ไร่ หากรวมกันแล้วเกิน ต้องจำหน่ายส่วนที่เกิน (ตามมาตรา 87 และ 93 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)

                     6. แต่งงานและอาศัยอยู่กับสามีชาวต่างชาติมีลูกอายุ 5 ขวบ ถ้าฝ่ายแม่มีที่ดินที่เมืองไทยเมื่อลูกโตขึ้นจะมีสิทธ์ในที่ดินนั้นหรือไม่

                      ตอบ เมื่อหญิงไทยที่มีสัญชาติไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติต่อมามีบุตรซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วผู้ใดที่เดิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต(พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7) ดังนั้นในกรณีนี้บุตรก็จะมีสัญชาติไทยซึ่งคนสัญชาติไทยสามรถถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ เมื่อมารดามีที่ดินในประเทศไทยก็สามารถที่จะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่บุตรได้

                      7. ซื้อที่ดินที่ประเทศไทย จ่ายเงินค่าที่ดินให้เจ้าของที่ดินไปหมดแล้ว แต่เจ้าของยงไม่ยอมโอนที่ดินให้ ทำอย่างไรจะให้เจ้าของโอนที่ดินให้

                      ตอบ ก่อนอื่นต้องดูว่าในการจ่ายเงินค่าที่ดินให้เจ้าของไปนั้นได้มีการทำสัญญาซื้อขายไว้เป็นหลักฐานหรือไม่ และในการจ่ายเงินมีหลักฐานอย่างใดบ้างถ้ามีสัญญาซื้อขายและมีหลักฐานว่าได้จ่ายเงินครบแล้วก็สามารถทีจะฟ้องร้องเพื่อให้เจ้าของที่ดินโอนที่ดินให้ได้ตามสัญญาซื้อขายที่ได้ทำไว้

หมวดสัญชาติ และคนเข้าเมือง

1. มีผู้ขอรับคำปรึกษาว่าตนกับสามีชาวไทยมีบุตรด้วยกันด้วยกัน 1 คน ต่อมาตนได้เดินทางมาทำงานที่ฮ่องกงด้วยความสมัครใจ และได้นำบุตรที่เกิดจากสามีชาวไทยมาอยู่ที่ฮ่องกงด้วย และต่อมาตนได้สมรสกับสามีชาวฮ่องกง และมีบุตรกับสามีชาวฮ่องกงอีก 1 คน ต่อมาสามีชาวฮ่องกงได้เสียชีวิตลง ตนกับบุตรทั้งสองคนได้อาศัยอยู่ที่ฮ่องกง ต่ามาเมื่อประมาณ 3-4 ปี มาแล้วบุตรชายของตนที่เกิดกับสามีชาวไทย ซึ่งขณะนี้มีอายุ 25 ปี แล้วได้ทำร้ายร่างการชาวฮ่องกงและได้ถูกศาลที่ฮ่องกงพิพากษาจำคุก 4 ปี ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 1 ปี บุตรชายของตนก็จะรับโทษครบตามคำพิพากษาแล้ว ตนทราบว่าเมื่อบุตรชายรับโทษครบแล้วจะต้องถูกส่งกลับประเทศไทย แต่ตนต้องการให้บุตรชายคนดังกล่าวยังคงอยู่ที่ฮ่องกง เพราะตนไม่มีญาติพี่น้องที่ประเทศไทย และตนไม่ประสงค์ที่จะกลับมาพักอาศัยที่ประเทศไทย เพราะไม่มีที่พักอาศัยและไม่มีทางทำมาหาได้ ในขณะที่ตนมีสิทธิอยู่ที่ฮ่องกงจากการที่ตนมีสามีเป็นชาวฮ่องกงดังกล่าว ตนจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะทำให้บุตรที่เกิดจากสามีชาวไทยดังกล่าวมีสิทธิอยู่ที่ประเทศฮ่องกงต่อไปได้ โดยไม่ต้องถูกส่งกลับประเทศไทย

                      ตอบ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของผู้ขอรับคำปรึกษา คือ การต้องการให้บุตรของตนซึ่งมีเกิดจากสามีชาวไทย และบุตรมีอายุประมาณ 25 ปี แล้ว สามารถอยู่อาศัยที่ฮ่องกงได้ต่อไป จึงได้ให้คำปรึกษาว่า ผู้ขอรับคำปรึกษาเป็นผู้มีสัญชาติไทย สามีของผู้รับการปรึกษาก็เป็นผู้มีสัญชาติไทย ดังนั้น บุตรของหญิงชาวไทยกับชายชาวไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ที่บัญญัติว่า “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

                       (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

                       (2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิวรรคหนึ่ง

                      เมื่อบุตรของผู้ขอรับคำปรึกษาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และไม่ได้รับสัญชาติฮ่องกง การมีสิทธิพักอาศัยอยู่ในฮ่องกงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายคนเข้าเมือง ดังนั้น หากประสงค์จะพักอาศัยโดยมีเหตุผลอย่างไร ให้ขอรับคำปรึกษาจากสถานทูตไทยที่ฮ่องกง เพื่อที่สถานทูตจะประสานกับทางฮ่องกงให้ผ่อนผันให้ แต่อย่างไรก็ตามอำนาจในการให้อยู่อาศัยในฮ่องกงเป็นอำนาจของฮ่องกงเท่านั้นไม่เกี่ยวกับประเทศไทย

                       2. เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศได้มาปรึกษาว่ามีคนไทยบางคนได้มาทำเรื่องขอสละสัญชาติไทยเนื่องจากคนไทยดังกล่าวได้สัญชาติประเทศอื่นซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ที่บุคคลดังกล่าวพอใจมากกว่า แต่เมื่อได้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ปรากฏว่าหลังจากได้มีการดำเนินการเป็นแนวเวลานาน ก็ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องที่บุคคลดังกล่าวได้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทย ตนจะทำอย่างไรเพื่อให้การดำเนินการเรื่องสละสัญชาติเร็วขึ้นกว่าเดิมเพราะผู้ประสงค์สละสัญชาติมาตามเรื่องอยู่เสมอ

                      ตอบ เนื่องจากพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 13 บัญญัติว่า “หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของสามีได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามี ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง“ และพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 15 บัญญัติว่า “ นอกจากกรณีตามมาตรา 14 ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การอณุญาตหรือไม่อณุญาตให้สละสัญชาติไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี“ ซึ่งตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 นั้น รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้คือรัฐมันตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

                      ดังนั้น หากต้องการให้ทราบผลการพิจารณาเรื่องการสละสัญชาติไทยโดยเร็วหรือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สละสัญชาติไทยเร่งทำการพิจารณา

                       3. ชายไทยได้สมรสถูกต้องตามกฎหมายต่างประเทศกับคู่สมรสฝ่ายหญิงซึ่งเป็นชาวต่างชาติ คู่สมรสฝ่ายหญิงต้องการถือสัญชาติไทยตามสามีต้องทำอย่างไร

                      ตอบ การขอเข้าถือสัญชาติไทยของหญิงต่างด้าวที่สมรสกับคนไทย มีข้อต้องพิจารณาด้งนี้

                      1. คุณสมบัติของผู้ถือสัญชาติไทยตามสามี

                      ก. กรณีขอถือสัญชาติไทยตามสามี (มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508)

                       1.1 ผู้ยื่นคำขอจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.13 หรือ ทร.14)

                       1.2 ผู้ยื่นคำขอจะต้องจดทะเบียนสมรสกับชายไทยถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอ ส่วนกรณีมีบุตรกับคู่สมรสซึ่งเป็นชายไทย จะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 1 ปี

                       1.3 สามีผู้มียื่นคำขอจำต้องมีอาชีพเป็นหลักฐานและมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว

                       - มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท/เดือน และในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอประกอบอาชีพสามารถนำรายได้ของตนไปรวมกับรายได้ของสามี เพื่อให้ถึงเกณฑ์กำหนด ทั้งนี้ จะต้องนำใบรับรองเงินเดือน/รายได้ และ/หรือ หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมา นำมาแสดงต่อหนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

                       - หากเป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน หรือหากมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน แต่ไม่ได้ต่ำกว่า  10,000 บาท/เดือน คู่สมรสจะต้องมีทรัพย์สินมูลค่าไม่น้อยกว่า 300,000 บาท โดยมีเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                      2. หลักฐานประกอบการยื่นคำขอเข้าถือสัญชาติไทยของหญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยการสมรส

                                            2.1 สำเนาใบสำคัญการสมรส (แบบ คร.3)

                                            2.2 สำเนาทะเบียนการสมรส (แบบ คร.2 หรือ คร. 4)

                                            2.3 สำเนาหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีอักษรหรือตราประทับไว้ (กรณีนี้ผู้ยื่นคำขอเป็นหญิงต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราว หรือสำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าวหน้า 1 ถึงหน้า 6 และช่องรายการต่ออายุใบสำคัญ ครั้งสุดท้าย (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นหญิงต่างด้าวมีภูมิลำเนาอู่ในราชอาณาจักรไทยแล้ว) หรือสำเนาบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยถูกต้องตามกฎหมาย

                                            2.4 รูปถ่ายของผู้ร้องและสามี ขนาด 2 นิ้ว จำนวดคนละ 12 รูป (ผู้ชายสวมสูทสากล หญิงแต่งกายสุภาพ)

                                            2.5 สำเนาสูติบัตรของบุตรทุกคน พร้อมรูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว คนละ 2 รูป

                                            2.6หนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชา ยืนยันว่าปัจจุบันยังคงรับราชการในตำแหน่ง สังกัดมาแสดง (กรณีสามีรับราชการ) หรือหนังสือรับรองการทำงาน ระบุตำแหน่ง หน้าที่การงานและอัตราเงินเดือน(กรณีทำงานเอกชน)

                                            2.7 สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ่นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือใบทะเบียน การค้า กรมสรรพากร หรือใบทะเบียนพาณิชย์ และหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ่นส่วนของนายจ้าง

                                            2.8 ในเสร็จรับเงินเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลปีที่ผ่านมา

                                            2.9 แบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ของปีที่ผ่านมา

                                            2.10 หลักฐานที่แสดงว่าสามีเป็นบุคคลสัญชาติไทย

                                                                 - สำเนาสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด

                                                                 - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือองค์การรัฐวิสากิจ ด้านหน้า-หลัง

                                                                 - สำเนาใบสำคัญทหารกองหนุน หรือกองเกิน (แบบ สด.1 หรือ สด.8 หรือ สด.9 หรือ สด.43)

                                                                 - สำเนาทะเบียนบ้านปัจจุบัน (ทั้งครอบครัว)

                                                                 - สำเนาหนังสือเดินทางของสามี (ทุกหน้าที่ประทับตรา)(ถ้ามี)

                                                                 - สำเนาหนังสือการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล (ถ้ามี)

                                                                 - สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดาหน้า 1 ถึงหน้า 6 และหน้าต่ออายุครั้งสุดท้าย (กรณีบิดามารดาของสามีเป็นบุคคลต่างด้าว) หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหน้า-หลัง (กรณีบิดามารดาของสามีเป็นบุคคลสัญชาติไทย) และทะเบียนบ้าน หรือใบมรณบัตร

                                            2.11 พยานบุคคลที่รู้เห็นการเป็นสามีภรรยารวม 4 ปาก

                      3. การยื่นคำขอฯ

                   
3.1 ผู้ยื่นคำขอฯซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอฯต่อผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจสันติบาล

                    3.2 ผู้ยื่นคำขอฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอฯ ต่อหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด/ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

                    3.3 ผู้ยื่นคำขอฯ อยู่ต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอฯ ต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น

                      4. สามีชาวต่างชาติที่สมรสถูกต้องตามกฎหมายต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยตามภรรยาคนไทยจะมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง

                      ตอบ คู่สมรสไทย-ต่างชาติบางคู่คิดอยากจะย้ายไปตั้งรกรากในประเทศไทย ก่อนตัดสินใจย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย ควรหาข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หลายๆฝ่ายเสียก่อน ในเรื่องของวีซ่า, การทำงาน, การหาที่อยู่อาศัย, เงินบำนาญ, เงินประกันสุขภาพและสังคม และอื่นๆอีกมากมาย สำหรับคนต่างชาติ

                      การขอวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยทำได้ดังต่อไปนี้

                      วีซ่าประเภทต่างๆสำหรับสามีชาวต่างชาติ

                      ไม่ว่าจะขอวีซ่าประเภทใดก็ตาม จุดเริ่มต้นคือ คนต่างชาติจะต้องขอวีซ่าแบบ นอน-อิมมิแกรนท์ Non-Immigrant เพื่อเข้ามาในประเทศไทยเสียก่อน เมื่อเข้ามาถึงแล้วจึงขอเปลี่ยนเป็นวีซ่าอื่นๆได้ เช่น ทำงาน, บำนาญ วีซ่าสำหรับผู้สูงอายุวีซ่าที่สามีต่างชาติจะขอเพื่อไปอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะยาวได้แก่

                       1. วีซ่าแบบคนไทยมีถิ่นฐานในประเทศไทย (Non-Immigrant) วีซ่าแบบนี้ขอได้ที่สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ชาวต่างชาติมีภูมิลำเนาอยู่ และสามารถอยู่ได้รวมทั้งหมด 1 ปี หลังจากเดินทางเข้าประเทศไทย 3 เดือน จะต้องไปต่ออายุของวีซ่าที่กองตรวจคนเข้าเมืองก่อน กองตรวจคนเข้าเมืองจำแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานที่ต้องนำมาแสดงและอื่นๆ

                      2. วีซ่าแบบทำงาน ต้องได้รับอนุญาตทำงานประกอบอาชีพจากกรมแรงงาน (ปัจจุบัน คือ กระทรวงแรงงาน) กรุงเทพฯ ก่อน ถ้าอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องที่สำนักงานอำเภอ

                      3. วีซ่าแบบผู้สูงอายุ (Retirement-Visa) เพื่อส่งเสริมให้ชาวต่างชาติผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป รวมทั้งบุคคลในครอบครัวเขา (อาจหมายถึงคุณพ่อคุณแม่ของสามีชาวต่างชาติของคนไทย ซึ่งมีสุขภาพไม่ค่อยดี อยากจะย้ายไปอยู่ในประเทศ ซึ่งมีอากาศอบอุ่นกว่า หรือชาวต่างชาติสูงอายุซึ่งไม่ได้สมรสกับคนไทย) ได้ไปใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงกำหนดระเบียบให้วีซ่าสำหรับผู้สูงอายุดังนี้

                          1) ขอวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราวหรือ นอน-อินมิแกรนท์ (Non-Immigrant) ที่สถนาทูตไทย หรือ กงสุลไทยในประเทศที่ชาวต่างชาติมีภูมิลำเนาอยู่ก่อน พร้อมทั้งระบุสาเหตุในการเดินทาง

                          2) เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินจะประทับตราให้อยู่ได้ 90 วัน

                          3) เมื่ออยู่ในประเทศไทยก่อนครบกำหนด 90 วัน ให้ไปต่อวีซ่าที่กองตรวจคนเข้าเมืองในกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัดเช่น พัทยา, เชียงใหม่ โดยนำหลักฐานการเงินในขอ 4 ไปแดสดง

                          4) แสดงหลังฐานเงินฝากประจำหรือออมทรัพย์จากธนาคารในประเทศไทยจำนวนไม่น้อยกว่า 800,000 บาท(แปดแสนบาท) หรือหนังสือรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลว่าได้รับเงินนำนาญประจำไม่ต่ำกว่าเดือนละ 65,000 บาท(หกหมื่นหน้าพันบาท)

                          5) วีซ่าประเภทนี้มีอายุ 1 ปี และต้องไปต่อที่กองตรวจคนเข้าเมือง โดยนำหลักฐานเงินบำนาญหรือออมทรัพย์หนังสือรับรองเงินฝากของธนาคารไปแสดง

                      **ถ้าจะเดินทางออกไปนอกประเทศไทยเมื่อได้วีซ่าแบบผู้สูงอายุแล้ว เพื่อไม่ให้เสียสิทธิวีซ่า  ถ้าถือวีซ่านี้ต้องการเดินทางออกนอกประเทศไทย ก็จะต้องเดินทางกล้บเข้ามาอีกก่อนวีซ่าหมดอายุและก่อนเดินทางออกให้ขอ รีเอนทรี เพอร์มิท (Re-entry permit คือใบอนุญาตให้กลับเข้าประเทศอีก) ที่กองตรวจคนเข้าเมืองแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือที่สนามบินขาออกก็ได้

                      5. คู่สมรสฝ่ายหญิงซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยได้แต่งงานโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับสามีชาวต่างชาติต้องการถือสัญชาติตามสามีไม่ทราบว่ามีวิธีการอย่างไร

                      ตอบ กรณีที่หญิงไทยแต่งงานตามกฎหมายกับสามีชาวต่างชาติ แล้วประสงค์จะขอถือสัญชาติของสามีชาวต่างชาติ กรณีนี้ถ้ากฎหมายของประเทศที่สามีชาวต่างชาติถือสัญชาติอยู่ไม่ได้บังคับว่าหญิงไทยซึ่งเป็นคู่สมรสต้องสละสัญชาติไทย หญิงไทยก็ยังคงถือสัญชาติไทยได้ตามเดิมโดยไม่ต้องสละสัญชาติไทย แต่ถ้ากฎหมายของประเทศสามีบังคับให้ต้องสละสัญชาติไทยถึงจะสัญชาติของประเทศสามีได้ กรณีนี้หญิงไทยต้องปฏิบัติตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งบัญญัติว่า

                      “หญิงไทยซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของสามีได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามีถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้แสดงความจำนงต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ตามแบบวีธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง“

                      สำหรับวิธีการแสดงความจำนง กฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2510 ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ข้อ 6 กำหนดให้ยื่นคำขอตามแบบ สช.1 พร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง อนึ่ง ชายไทยไม่อาจให้สิทธิตามมาตรา 13 เพื่อสละสัญาติไทยเพราะสมรสกับหญิงต่างด้าวแม้ว่าชายไทยอาจจะถือสัญชาติของหญิงผู้เป็นภรรมยาเพราะการสมรสได้ การสละสัญชาติไทยของชายต้องดำเนินการตามมาตรา 15 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก

                      การเสียสัญชาติไทยจะมีผลโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แล้ว

หมวดเบ็ดเตล็ด

                      1. มีพี่ชายติดคุกข้อหาฉ้อโกงประชาชนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุก 20 ปี อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ยืน (20 ปี) ถูกจำคุกมาแล้ว 3 ปี (ไม่มีเงินประกัน) ขณะนี้ยื่นฎีกา ขอถามว่า การถูกจำคุกจะทำอย่างไร จึงจะถูกจำคุกน้อยที่สุดและหากศาลฎีกาพิพากษามายืนให้จำคุกอีก เวลาที่ถูกจำคุกไปแล้วจะมีผลอย่างไร

                      ตอบ สามารถหักเวลาที่ถูกจำคุกไปแล้ว จากระยะเวลาที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดจำคุกและหากปฏิบัตตามระเบียบและกระทำความดีขณะจำคุก ก็จะได้รับการลดหย่อนโทษ การอภัยโทษ หรือได้รับการพักโทษ

                      2. ลูกชายเกิดที่เมืองไทยแต่ใบแจ้งเกิดซึ่งแจ้งไว้ที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีหาย จะหาได้ที่ไหน

                      ตอบ ให้ไปแจ้งที่สถานีตำรวจเพื่อลงประจำวันว่าใบแจ้งเกิดของบุตรชายสูญหาย แล้วนำหลักฐานการแจ้งหายกับเจ้าพนักงานตำรวจ ไปยื่นที่อำเภอเพื่อขอออกใบแทนหรือหลักฐานการเกิดในประเทศไทยต่อไป       

                      3. มีผู้ขอรับคำปรึกษาว่าตนเป็นคนไทย ขณะตนทำงานที่ฮ่องกงเพื่อนของตนซึ่งก็เป็นคนไทยด้วยกันที่อยู่ที่ฮ่องกงได้ขอยืมเงินตน

ตนตกลงให้ยืม และได้ฝากเงินที่ตนให้ยืมไปกับเพื่อนคนไทยอีกคนหนึ่ง ต่อมาเพื่อนที่ขอยืมเงินตนได้ฝากเงินมากับเพื่อนคนที่ตนฝากให้นำเงินไปให้เพื่อนที่ขอยืมเงินดังกล่าวเพื่อให้นำเงินมาคืนให้ตน แต่เพื่อนที่ได้รับฝากเงินมาคืนให้ตนดังกล่าวไม่ได้นำเงินมามอบให้ตน ตนจะทำอย่างไรกับเพื่อนที่รับฝากเงินมาแล้วไม่นำเงินมาส่งมอบให้แก่ตน

                      ตอบ ได้ให้คำปรึกษากับผู้มาขอรับคำปรึกษาไว้ 2 ส่วน คือในส่วนของคดีอาญาและคดีแพ่ง โดยในส่วนคดีอาญานั้น การกระทำของผู้รับฝากเงินเพื่อนำมามอบให้กับผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์เนื่องจากนำเงินเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถดำเนินคดีให้ผู้กระทำความผิดรับโทษในประเทศไทยได้ เนื่องจากผู้กระทำผิดเป็นคนไทย หากผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ ก็สามารถที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในประเทศไทยได้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 ได้บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและ

                       (ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดเกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ… ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ

                       (12) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 352  ถึงมาตรา 354...”

                      หรือมิฉะนั้นก็แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของฮ่องกงเพื่อดำเนินการตามที่กฎหมายฮ่องกงกำหนดไว้เพื่อให้มีการลงโทษผู้ที่กระทำความผิด

                      ในส่วนคดีแพ่งนั้น แม้เหตุเรื่องนี้จะเกิดนอกประเทศไทย คือเกิดที่ฮ่องกงก็ตาม แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตาา 4 ตรีบัญญัติว่า “คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

                      คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้“

                      ดังนั้น ผู้เสียหายจึงสามารถฟ้องผู้ที่รับฝากทรัพย์แล้วไม่นำมามอบให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับต่อศาลแพ่งหรือ

 

Sawasdee Thai-Dansk Forening, Parkvej 26, 5492 Vissenbjerg. e-mail: info@thai-dansk.dk

Click for Bangkok, Thailand Forecast